ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหญ้าแฝก
หญ้าแฝก เป็นหญ้าที่ทนทาน ปลูกง่ายขึ้นได้ดีทั้งในดินดีและดินเลว แม้กระทั้งดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินด่าง ดินทราย หรือดินลูกรัง ต้นหญ้าแฝกมีลักษณะขึ้นเป็นกอ โคนกออัดดันแน่น มีการเจริญเติบโตจากกอเล็กเป็นกอใหญ่โดยการแตกหน่อ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 เซนติเมตร
ในปี 2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงมีพระราชดำริให้หน่วยงานต่างๆ ศึกษาวิจัยการใช้หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ กรมพัฒนาที่ดินจึงได้ดำเนินการศึกษาการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่นั้นมา มีพันธุ์ที่เจริญเติบโตเหมาะสมกับสภาพดินแต่ละชนิด เช่นดินทราย ดินร่วนเหนียว ดินลูกรัง หญ้าแฝกที่กรมพัฒนาที่ดินแนะนำรณรงค์ส่งเสริมมีจำนวน 10 พันธุ์
คุณสมบัติที่ดีของหญ้าแฝก
- หญ้าแฝกมีการแตกหน่อ รวมทั้งเป็นกอและเบียดกันแน่น กอมีความแข็งแรง ตั้งตรง และไม่แผ่ขยายด้านข้าง
- หญ้าแฝกเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว แต่อายุยืนอยู่ได้หลายปี เพราะมีการแตกหน่อใหม่ และไม่ต้องดูแลมาก
- หญ้าแฝกมีข้อที่ลำต้นและถี่ และเกิดจากการย่างปล้อง สามารถขยายพันธุ์โดยได้ใช้หน่อได้ตลอดปี
- หญ้าแฝกส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ทำให้สามารถควบคุมการแพร่ขยายได้
- หญ้าแฝกมีใบยาว เมื่ือตัดสามารถแตกใหม่ได้ ใบคม แข็งแรง และทนต่อการย่อยสลาย
- หญ้าแฝกมีระบบรากยาว ประสานกันอย่างหนาแน่นช่วยยึดดิน และรากมีลักษณะอวบอุ้มน้ำได้ดี
- บริเวณรากหญ้าแฝกเป็นที่อยุ่อาศัยชองเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หลายชนิดในดิน
- หญ้าแฝกสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี และมีความทนทานต่อโรคพืชทั่วไป
- หญ้าแฝกมีส่วนที่เจริญอยู่ต่ำกว่าผิวดินช่วยให้สามารถอยู่รอดได้ต่อสภาพต่างๆ ได้ดี
ข้อจำกัดของหญ้าแฝก
- หญ้าแฝกเจริญเติบโตไม่ค่อยดี ในสภาพที่แสงแดดน้อยหรือในที่ร่ม เช่นร่มต้นไม้ ดั้งนั้นควรปลูกบริเวณที่มีแสงแดดมากพอ เพื่อหญ้าแฝกเจริญเติบโตดี
การใช้ประโยชน์หญ้าแฝก
- ปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ
- ปลูกหญ้าแฝกเพื่อแก้ไขการเกิดร่องน้ำแบบลึก
- ปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาความชื้น
- ปลูกหญ้าแฝกเพื่อปรับปรุงพื้นที่เสื่อมโทรม
ข้อควรปฏิบัติในการปลูกและการดูแลรักษาหญ้าแฝก
- การคัดเลือกกล้าที่มีคุณภาพ
- การเลือกช่วงเวลาปลูก ช่วงที่เหมาะสมควรเป็นฤดูฝน ดินมีความชื้นติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป เพื่อให้มีการรอดตายสูงควรมีการรดน้ำ เป็นวิธีการดีที่สุด
- การรดน้ำหลักจากปลูก ให้มีความชุ่มชื้นต่อเนื่องอย่างน้อน 15 วัน แม้จะปลูกในฤดูฝน เืพื่อให้หญ้าแฝกตั้งตัวได้ดี
- การควบคุมความสูง มีการเติบโตเต็มที่ ควรมีตัดใบทุกๆ 3-4 เดือนต่อครั้ง เพื่อให้แฝกมีการแตกกอที่ดีขึ้น
- การดูแลรักษาตามความเหมาะสม แม้หญ้าแฝกเจริญเติบโตได้ดีในดินความสมบุรณ์ต่ำ แต่หากมีการใส่ปุ๋ย รดน้ำในฤดูแล้ง จะทำให้หญ้าแฝกเจริญเติบโตดี
- ปลูกซ่อมแซมและแยกหน่อแก่
- ควบคุมโรคและแมลงศัตรูของหญ้าแฝก ตามความเหมาะสม
สถานที่ให้บริการ
- ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารการให้บริการ ณ จุดเดียว (One stop service) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 11 และสถานีพัฒนาที่ดิน ที่อยู่ใกล้บ้านท่าน
ช่องทางให้บริการ
- ติดต่อขอรับกล้าได้ด้วยตัวเอง
- ถ้าเป็นข้อมูล / รายละเอียดเพิ่มเติม สอบถามได้ทางโทรศัพท์
ช่วงเวลาในการแจกจ่ายหญ้าแฝก
เนื่องจากกล้าหญ้าแฝกต้องขยายพันธุ์ประมาณ 6 เดือน ดั้งนั้นเกษตรกรที่สนใจสามารถลงชื่อไว้ก่อน เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ทราบจำนวนกล้าหญ้าแฝกและขุดตามจำนวนที่เกษตรกรขอรับ
- เริ่มแจกจ่ายในช่วงฤดูฝน ( ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม - 31 สิงหาคม ของทุกปี )
วิธีการลงชื่อขอรับกล้าหญ้าแฝก
- แจ้งชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ และสถานที่ปลูก ทาง Inbox Page Facebook : สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 11
- แจ้งชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ และสถานที่ปลูก ทางโทรศัพท์ หมายเลข 077-31110 ต่อ 222
- มาลงชื่อด้วยตัวเองที่ ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารการให้บริการ ณ จุดเดียว (One stop service) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 11
- ดาวน์โหลดเอกสารใบคำร้องขอรับหญ้าแฝก กรอกรายละเอียด (ดาวน์โหลดคำร้อง) แล้วส่งมาตามช่องทางดังนี้
- ไปรษณีย์ : สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 11 เลขที่ 3 ซ.ธราธิบดี 7 ถ.ธราธิบดี ต.ท่าข้าม อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี 84130
- โทรสาร : 077-311110 ต่อ 222
- อีเมลล์ : สแกนแล้วส่งมาที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
เวลาติดต่อขอรับบริการ
- วันจันทร์-วันศุกร์ ยกเว้นวันหยุดที่ทางราชการกำหนด ตั้งแต่เวลา 8.30-16.30 น. (มีพักเที่ยง 12.00-13.00 น.)
เอกสารที่ใช้ประกอบขอรับบริการ
- เอกสารใบคำร้องขอรับกล้าหญ้าแฝก (มารับได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารการให้บริการ ณ จุดเดียว สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 11)
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรที่ออกโดยหน่วยงานราชการ เช่น ใบขับขี่ หนังสือเดินทาง เป็นต้น
- แผนที่เดินทางไปยังบริเวณที่ปลูกหญ้าแฝก สามารถนำมาให้เจ้าหน้าที่ได้ในวันรับกล้าหญ้าแฝก (เพื่อใช้ในการเดินทางไปติดตามการปลูก)
- รูปถ่ายบริเวณที่จะปลูกหญ้าแฝก
*เอกสารที่ใช้ประกอบขอรับบริการ สามารถยื่นต่อเจ้าหน้าที่ได้ในวันมารับกล้าหญ้าแฝกได้ ยกเว้นเอกสารใบคำร้องของรับหญ้าแฝก
ค่าธรรมเนียม
- ไม่่มีค่าธรรมเนียม